โรควิตกกังวล 5 ประเภท ของวัยทำงาน

1

“โรควิตกกังวล” นั้นเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากความวิตกกังวลทั่วไป จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไป แต่เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

โรควิตกกังวลที่พบได้บ่อย

โรควิตกกังวล อาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ สารสื่อประสาทในสมอง พันธุกรรม สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การเลียนแบบพฤติกรรม การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลซึ่งมีหลายประเภท และ 5 โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน

1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

เกิดความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ การเรียน ซึ่งผู้ป่วยยังสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่หากผู้ป่วยยังรู้สึกวิตกแบบเดิมนานเกินกว่า 6 เดือน ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

2.โรคแพนิก (Panic Disorder)

หรือโรคตื่นตระหนก กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวตาย มีอาการเจ็บป่วยนิดหน่อยก็กลับมีความกังวล อาการอาจเกิดเป็นพักๆ ทำให้เหงื่อออก ใจสั่น ร้อนวูบวาบ แน่นหน้าอก วูบเหมือนจะเป็นลม และอาจนำไปสู่ภาวะอื่นๆ ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ติดสารเสพติด เป็นต้น

3.โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

ความวิตกกังวลที่จะต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าต้องถูกจ้องมอง ทำอะไรที่น่าอาย ต้องคอยหลบ รู้สึกประหม่า และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาลับหลัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว

4.โรคกลัวแบบเฉพาะ (Specific Phobia)

ความวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องบางเรื่อง บางสิ่งบางอย่างแบบเจาะจง เช่น กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวสุนัข เป็นต้น แม้ว่าจะรู้สึกกลัวไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการ เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น อาจทำให้ใจสั่น หายใจลำบาก เหงื่อออก

5.โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)

ความวิตกกังวลที่เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบซ้ำๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ แม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่รุนแรง แต่ทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย จะ

ปัจจุบันการพบจิตแพทย์สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเขินอาย หรือกลัวการเข้าพบจิตแพทย์ เนื่องจากการเข้าพบไม่ต่างอะไรกับการหาที่ปรึกษา หาเพื่อนช่วยคิด เพียงแต่เพื่อนในที่นี้คือแพทย์ที่มีหลักการรักษา โดยจะพูดคุยให้คำปรึกษาด้วยการรับฟัง แสดงความเห็นใจและให้คำอธิบาย หรือมีกิจกรรมให้ทดลองทำ เป็นการทำจิตบำบัด

Previous articleกระติกอาหารเก็บความร้อน ราคาเริ่มต้นเท่าไหร่ เลือกยังไงดี ?